Sunday, March 31, 2019

Review : 敬語 อย่าโก๊ะนะจ๊ะ




สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ ขออภัยที่ห่างหายจากการอัพบล็อคไป 2 สัปดาห์นะคะ พอดีติดสอบและติดงานค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าเนอะ (^.^)
เมื่อสองประมาณสองสัปดาห์ก่อน มีอาจารย์รับเชิญจากมหาวิทยาลัย Tohoku มาสอนเกี่ยวกับเรื่อง 敬語 ค่ะ เรียนแล้วรู้สึกว่าอาจารย์ได้ช่วยเสริมความรู้พื้นฐานของ 敬語 ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ จากที่เคยเรียนการใช้ 敬語 แค่กับคนที่เราสนทนาด้วย (มีแค่ 2 คน) ครั้งนี้ก็ได้เรียนวิธีการใช้ 敬語 เวลาเรากล่าวถึงบุคคลที่ 3 ด้วย (มี 3 คน) มันอาจจะเป็นความรู้ที่ใคร ๆ ก็รู้สึกว่า ไม่เห็นมีอะไรซับซ้อนเลย ง่ายจะตาย ทำไมต้องเรียนเป็นจริงเป็นจัง แต่ถ้าเกิดมีคนถามให้ช่วยอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา ก็คงไม่รู้จะอธิบายอย่างไรแน่นอน
ครั้งนี้เราก็เลยจะมาสรุปความรู้ 敬語ที่เราเข้าใจไว้ข้างล่างนี้

ประเภทของ敬語

1. 素材敬語: คำที่เราใช้กับคนที่เรากล่าวถึง (เป็นได้ทั้งบุคคลที่ 2 หรือ ) มีไว้แสดงว่าเราจะยกย่องเขาหรือไม่
·      尊敬形: รูปยกย่อง
·      謙譲形: รูปถ่อมตน  
·      基本形: รูปปกติ (ไม่ได้ยกย่องและถ่อมตน)

2. 対者敬語:  คำที่เราใช้กับคนตรงหน้าที่เราคุยอยู่ (บุคคลที่ 2) มีไว้แสดงว่าเราจะสุภาพหรือแสดงความสนิทสนมกับเขา
·      丁寧形: รูป ます แสดงความสุภาพ ใช้กับคนที่ยังไม่สนิทหรือคนที่มีสถานะสูงกว่า

·      普通形:  รูป plain form (-) ใช้พูดกับเพื่อน คนสนิท



อ่านแล้วอาจจะงงนิดหน่อย ว่าทำไมถึงมีอะไรเยอะแยะไปหมด แต่ภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นภาษาที่มีความละเอียดอ่อน สังคมญี่ปุ่นเองก็เป็นสังคมที่มีความละเอียดอ่อน  ระดับภาษาที่ใช้ถูกแบ่งยิบย่อยตามความสัมพันธ์ของคน  แต่หลัก ๆ แล้ว เมื่อเราพูดกับคนอื่น คำพูดเขาเราก็จะประกอบไปด้วย 敬語 สองประการใหญ่ ๆ ข้างต้น หลังสังเกตคือ 
 

素材敬語 (คำที่ใช้กับคนที่เรากล่าวถึง) จะอยู่ต้น ๆ คำ
และ
対者敬語(คำที่ใช้กับคนที่เราสนทนาอยู่) จะอยู่ท้าย ๆ คำ

ตัวอย่าง

1. 学生1:あれ、北野先生はもうお帰りになった
    学生2:うん、もうお帰りになったよ。
แต่เนื่องจาก 北野先生 ไม่ได้อยู่ตรงนั้น ไม่ได้ยินสิ่งที่เราพูด  และคนที่ฟังคือเพื่อนเราเอง เพราะเหตุนี้ ในบทสนทนาระหว่างเพื่อนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยยกย่องอาจารย์กัน บทสนทนาส่วนใหญ่จึงกลายเป็น 
学生1:あれ、北野先生はもう帰った?

学生2:うん、もう帰ったよ。

2.古川先生:あれ、北野先生はもう帰った?
  学生:はい、北野先生はもうお帰りになりました。

และแม้ว่าผู้พูดจะพูดอยู่กับแค่บุคคลที่สอง ไม่ได้พูดถึงบุคคลที่สามด้วย 素材敬語ก็มีบทบาทเช่นกัน

3.学生:先生、もうお帰りになりますか。
  古川先生:はい、もう帰りますよ。
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราควรจะผันกริยาให้เป็นรูป 敬語 ทุกอย่าง แน่นอนว่ามีคำศัพท์ 敬語 ที่ใช้ไม่ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเหตุผลหลัก ๆ ที่บางคำผันเป็น 敬語 แล้วใช้ไม่ได้ มีดังนี้

1. กริยาบางคำมี 敬語 เฉพาะอยู่แล้ว
×お知りしています ×お知りしている
ご存知

2. กริยานั้นเป็นกริยาที่ไม่มีกรรม ผู้พูดทำเองได้ ไม่มีบุคคลอื่นมาช่วยรับผลของการกระทำ และผู้พูดไม่ได้ต้องการแสดงความสุภาพกับบุคคลที่ฟังอยู่ การเปลี่ยนคำศัพท์เป็น 敬語 จึงเป็นเรื่องแปลก
(จุดสังเกตคือ กริยาเหล่านี้มักเป็น 謙譲語ควรระมัดระวังในการใช้)
~ございます          ×~ござる         
~でございます       ×~でござる
(に)おります      ×(に)おる
~参ります            ×~参る
~と申します          ×~と申す

คำกริยาที่มี นั้นใช้ได้ เพราะถึงแม้ว่าเป็นกริยาที่ผู้พูดทำเอง ไม่มีบุคคลอื่นมาช่วยรับผลของการกระทำ แต่ผู้พูดต้องการแสดงความสุภาพกับบุคคลที่ฟังอยู่ จึงใช้ 敬語 ได้


สรุป

อ่านถึงตรงนี้อาจจะมีจุดที่เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ยังงง ๆ อยู่แต่ว่าถ้าดูจากตารางที่อาจารย์ได้สรุปมาให้ข้างล่างแล้ว จะเห็นภาพรวมมากขึ้นค่ะ 

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านจนถึงตรงนี้นะคะ หวังว่าทุกคนจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ 敬語 ค่ะ ถ้ามีอะไรผิดพลาดตรงไหน คอมเม้นมาได้เลยนะคะ :


เครดิต
ขอบคุณเว็บ 
http://visualized-japanese.hatenablog.com/entry/2016/07/11/121611
ที่ช่วยไขข้อสงสัยให้กระจ่างมากขึ้นค่ะ เพื่อน ๆ ก็ลองอ่านเว็บนี้ดูได้นะคะ มีการ์ตูนอธิบายทำให้เข้าใจง่ายเลยค่ะ

Sunday, March 10, 2019

Task : การอธิบายให้เห็นภาพ


สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายไปก็กลับมาเขียนบล็อคอีกครั้ง เนื่องจากติดสอบกลางภาคเลยปลีกตัวมาเขียนบล็อกไม่ได้เลย ;__; 2 สัปดาห์ที่แล้ว มี Task ใหม่ นั่นคือ การอธิบายให้เห็นภาพ (描写) โดยอาจารย์ให้จับคู่และผลัดกันอธิบายการ์ตูนสั้นๆ สีช่อง ที่ไม่มีคำพูดใด ๆ เลย โดยที่คู่สนทนาของเราจะมองไม่เห็นภาพนั้น เราต้องอธิบายให้เขาเข้าใจเหมือนเขาได้เห็นภาพนั้นด้วยตนเอง
ฟังเลยดูเหมือนไม่ยาก แต่จริง ๆ คือตายตั้งแต่ด่านแรก 5555 เพราะไม่เข้าใจภาพที่อาจารย์ให้มา เราได้ภาพที่มีเด็กทารกและสุนัขตัวหนึ่ง และในภาพนั้นไม่มีบทสนทนาอะไรเลย ต้องจินตนาการล้วนๆ เลยเดาเรื่องไม่ถูกเลย  พอเดาเรื่องไม่ถูก ก็พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดี

 はい、えーと、赤ちゃんがなんか(はい)犬と(犬と)プレイ?遊びたい。なんか犬と遊びたい。だから、(だから)赤ちゃんがこれ赤ちゃん。これ犬。(うんうん)なんか赤ちゃんが犬と遊びたい。(あー)だから、赤ちゃんが犬のところにちょっと行って、犬が最初は赤ちゃんのことを気づかない気づかなかったけど、赤ちゃんが来た時に、赤ちゃんに会って、びっくりして、なんか二人ともびっくりした。(なんというか犬が急に目が覚めた)そうそうそうそう。(あ、なんか最初は犬が寝ている?)多分(多分か 笑)多分犬が寝ている。最初は犬が寝ていた。なんか赤ちゃんが犬のところに行って(うんうんうん)二人はなんか二人とも(目線?)なんというか(目線が合って?)うん、目線が合ってびっくりした。でも、なんか犬があまり赤ちゃんと遊びたくないような感じで、犬が赤ちゃんのことを無視して(うんうんで?)でも、赤ちゃんが遊びたい 笑。(あー)犬と遊びたいから(うん)赤ちゃんがまた犬のところに歩いて歩いて行った。(うんうん)そうそうそう。(あれ、もう赤ちゃんは犬のところに着いたじゃないの?)もう着いたけど、犬が赤ちゃんと遊びたくない(無視?)無視して、別のところに(あ、別のところに行っちゃった?)行っちゃって、そうそうそう、だから、赤ちゃんが犬のところ...また歩いて行った(また、なっというか、犬のところに?)うん(うん。あとは?)笑 あとはあとは何か話そうかな。それで終わり。笑


พอได้ลองอ่านที่เราพูดข้างบนแล้ว เหมือนเราเพิ่งเรียนภาษาญี่ปุ่นระดับเบบี๋อยู่เลย พูดวนไปวนมา อธิบายไม่ครบจนเพื่อนต้องถามกลับมา อายเหลือเกิน ไม่กล้าส่งบทพูดให้อาจารย์ เรียนภาษาญี่ปุ่นมาตั้งหลายปี พูดได้เท่าเด็กอนุบาลญี่ปุ่น 5555 แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการลองทำแบบฝึดหัดนี้คือ

สิ่งที่รู้สึกได้จากการลองทำแบบฝึกหัดนี้
1.       ตัวเองมีคลังคำศัพท์น้อย
·       เรารู้สึกว่าเรามีคำศัพท์ในหัวน้อย แถมยังไม่ค่อยพิถีพิถันในการใช้คำศัพท์ คิดว่าคงใช้แทนกันได้ แต่ลืมนึกไปว่าภาพที่ได้ก็จะแตกต่างกัน อย่างเช่นคำว่า คลานเรานึกคำภาษาญี่ปุ่นไม่ออกแต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เอาแค่ให้สื่อความหมายได้ก็พอ เราเลยใช้คำว่า 歩く กับคำว่า行くไป แต่พอใช้คำนั้นไป เพื่อนก็ถามว่า เด็กทารกไม่ได้คลานเหรอ เราเลยเริ่มเอะใจ  มันทำให้เพื่อนมีภาพการเคลื่อนไหวของเด็กทารกต่างกันขนาดนั้นเลยเหรอ เพื่อนเลยบอกว่า คำว่า คลาน พูดว่า  ハイハイする
·       อีกคำหนึ่งที่นึกคำศัพท์ไม่ออกคือ คำว่า  หันหน้าเข้าหากัน ตอนนั้นนึกไม่ออกจริง ๆ ว่าต้องพูดอย่างไรเลยใข้คำว่า  赤ちゃんは犬と会ったไป  ถึงแม้ว่าอาจจะดูไม่เป็นเหตุเป็นผลก็ตามเพราะเด็กทารกเห็นสุนัขก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม แต่หลังจากนั้นเพื่อนก็แนะนำคำว่า   目線が合った มาให้

2.       ประเด็นเรื่องมุมมองที่คนฟังมี เมื่อใช้คำศัพท์ตัวหนึ่ง ภาพที่เกิดขึ้นในหัวเราอาจจะต่างจากภาพที่เพื่อนมีก็เป็นได้
เรา :なんか犬があまり赤ちゃんと遊びたくないような感じで、犬が赤ちゃんのことを無視して
ผู้ฟัง: うんうんで?
เรา :でも、赤ちゃんが遊びたい 笑。犬と遊びたいから赤ちゃんがまた犬のところに歩いて歩いて行った。
ผู้ฟัง: うんうん
เรา :そうそうそう
ผู้ฟัง: あれ、もう赤ちゃんは犬のところに着いたじゃないの?
·       ในบทสนทนา เราต้องการจะบรรยายว่า แต่สุนัขดูไม่ได้อยากเล่นด้วยเลยเมินเด็ก (และเดินไปที่อื่น) เราเลยใช้คำว่า 無視โดยไม่ได้บอกว่า 無視して、違うところに行く เพราะเรามีภาพในหัวว่า เวลาเมินใคร ไม่อยากสนใจใคร เราจะเดินไปที่อื่น จึงทำให้เพื่อนที่มีภาพในหัวแค่ว่า เมิน แต่ไม่มีภาพในหัวว่า สุนัขเดินไปที่อื่นด้วย ทำให้เพื่อนไม่เข้าใจว่า เด็กเดินไปถึงที่ที่สุนัขอยู่แล้ว แล้วทำไมยังต้องเดินไปหาสุนัขอีก

หลังจากนั้น คาบถัดไป อาจารย์ก็บอกว่าได้รับการบ้านของทุกคนแล้ว อ่านการบ้านไปไปก็ขำไป (อย่าว่าแต่อาจารย์เลยค่ะ หนูอ่านหนูก็ยังขำ ขำในความโง่ของตัวเอง) แต่อาจารย์ก็อธิบายว่าทำไมหลาย ๆ ครั้งถึงให้ลองทำอะไรด้วยตนเองก่อน (ถึงแม้ว่าจะออกมาไม่ค่อยดีเท่าไหร่) แล้วถึงจะให้ตัวอย่างไป นั่นก็เพราะว่า ถ้าเรารู้ตัวว่าเรามี GAP ระหว่าง สิ่งที่เราควรทำได้ กับ สิ่งที่เราทำได้จริง พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเราคิดว่าเราควรทำได้ 90 100 คะแนน แต่สิ่งที่เราทำได้จริง เราทำได้แค่ 30 คะแนน เราจะรู้สึก
 เจ็บ แล้ว จำ  
ความเจ็บมันจะทำให้เราจำได้ว่าเราเคยผิดอย่างที่ไม่น่าให้อภัยมาก่อน และเราจะพยายามไม่ผิดไปมากกว่านี้
หลังจากนั้น อาจารย์ก็ให้ตัวอย่างการบรรยายการ์ตูนเรื่องนี้ของคนญี่ปุ่น หลังจากที่อ่านและฟังบทสนทนาของคนญี่ปุ่น อาจารย์ก็ได้ให้เราสังเกตว่า เขาใช้ประโยคแบบไหน คำศัพท์อะไร เขาจบ story อย่างไร เขามีอะไรในสิ่งที่เราไม่มี

ギャップシート
(จริงๆแล้ว) อยากจะพูดว่า
สิ่งที่พูดออกไป
การณีนี้ คนญี่ปุ่นใช้อย่างไร
เด็กคลานเข้าไปใกล้สุนัข
赤ちゃんが犬のところに行った
1. 赤ちゃんが犬のところへはいはいをして、近づいています。

2.そこへハイハイをして来て、

3.犬に近づきました。

4.犬のいる所までハイハイして行った

สบตากัน/หันหน้าเข้าหากัน
犬と会った
1.目が合った
2.顔を合わせた
ไปทางอื่น
別のところ
向きを変えた
เดินอ้อมเป็นวงกลม
ไม่ได้พูด
1.まわる
2.回り込む


認知比較
表現(終助詞・補助動詞。複合動詞・オノマトペアなど)
จุดที่สังเกต
ตัวเรา
คนญี่ปุ่น
~てしまいました
ไม่มีการใช้รูป ~てしまいました
มีการใช้รูป てしまいました
เช่น

1.顔を合わせてしまいました

2.目を目覚ましてしまいました
ろうと(する)
ไม่ได้ใช้รูろうと(する)เลย บอกแค่ว่า 犬と遊びたいから、犬のところに行った
มีการใช้รูป ろうと(する)แสดงความพยายามที่จะทำอะไรสักอย่าง 

背中に乗ろうと正面からハイハイをして近づく
回り込む
ไม่มีการใช้複合動詞
ใช้แค่ まわる
มีการใช้ 回り込む ที่เป็น 複合動詞 แปลว่า เดินอ้อม เพื่อไปถึงจุดหมายนั้น ๆ ซึ่งการใช้ 複合動詞 จะทำให้เห็นภาพการเคบื่อนไหวของการกระทำมากกว่า 動詞 ธรรมดา
不思議がります
ไม่ใช้ ~がりますที่เป็นคำต่อท้ายกริยาที่แสดงความรู้สึกของบุรุษที่ 3 ใช้รูปประโยคแสดงความรู้สึกเหมือนเป็นประธานบุรุษที่ 1

(犬は)赤ちゃんに会って、びっくりして
มีการใช้คำต่อท้ายกริยาที่แสดงความรู้สึกของบุรุษที่ 3

(赤ちゃんは)とても不思議がります
ぐるりとまわる
グルッと一周ハイハイでまわる

ไม่มีการใช้ オノマトペアดังกล่าวประกอบกับกริยาเลย
มีการใช้オノマトペアดังกล่าวประกอบกับกริยา โดยที่ ぐるりと グルッと จะให้ภาพการเดินเป็นวงกลมมากขึ้น
มีวิธีการเรียกตัวละคนที่หลากหลาย
赤ちゃん
あかちゃん、赤子、赤ん坊
犬、わんちゃん


内容 (ลำดับ ช้าและชัด climax/ オチ)
จุดที่สังเกต
ตัวเรา
คนญี่ปุ่น
มีการใส่คำพูดตัวละครลงไปเพื่อเพิ่มความสนุกสนานและเพิ่มความเป็นนิทานมากขึ้น
ไม่พูดเลย
「あぶないあぶない。やっぱり犬の前にいったら、おきちょうんだ」
มีการใส่มุมมองของตัวละครลงไปด้วย เพื่อเพิ่มอรรถรสและความสมจริง
ไม่เลย
(หลังจากที่เดินวนมาข้างหลังสุนัขแล้ว ก็ยังประจันหน้าสุนัขอยู่ดี)

「どうしてお尻に顔があるの?」

เอ๊ะ ทำไมถึงมีหน้าตรงก้นได้ล่ะ
เพราะเด็กนั้นไร้เดียงสาอยู่ ตามสถานการณ์ไม่ทัน จึงมีความสงสัยนี้เกิดขึ้นได้
มีการสรุปเนื้อหาเพื่อเพิ่ม impact สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังก่อนจบ
ไม่พูดเลย
1.赤子の狭い世界での、一生懸命の策略と努力が簡単に崩れさってしまうというのが、今回の漫画『ペエスケ』のオチです

2.小さな男の子より犬のほうが一枚上手であったというわけですね

聞き手の態度(あいづち(量・バリエション)・質問・表情)
จุดที่สังเกต
ตัวเรา
คนญี่ปุ่น
มี あいづちหลากหลาย
うん、へー、笑
うん、ほー、へー、ふーん、あー、笑
คนญี่ปุ่นมี あいづちบ่อยครั้ง ไม่จำเป็นต้องจบประโยคใหญ่ อาจจะฟังแล้วได้ใจความนิดหน่อยก็มี あいづち แล้ว เช่น
犬、やっぱり興味を(うんうん)持って、

หรือมี あいづちหลังจบประโยคย่อย
เช่นちょっとよくわからないんだけど、()とりあえず、

หรือมี あいづち ตอนที่ผู้พูดต้องการความสนใจจากผู้ฟัง เช่นหลังคำว่า ~
わんちゃんとね(うんこれはね(うん



คำศัพท์อื่น ๆ ที่ได้จากการสังเกตการอธิบายของคนญี่ปุ่น


1.     (犬が)体をかく                   ⁼ (สุนัข) เกา
2.       冷や汗をかく                           เหงื่อเย็นไหล
3.       転がる                (ころがる)     กลิ้ง เกลือกกลิ้ง
4.       時計回りにハイハイをする          คลานตามเข็มนาฬิกา
5.       正面からハイハイをする             คลานจากด้านหน้า
6.       犬の後方・犬の尾っぽの方にハイハイをする คลานไปทางด้านหลังของสุนัข
7.       待ち構える                                ⁼ เตรียมพร้อมรอรับ
8.       一枚上手 (いちまいうわて)      ⁼ เก่งกว่า 1 ก้าว
9.       策力(さくりょく)                          ⁼ แผน
10.   逆の方向・反対の方向を向く    ⁼ หันไปทางด้านตรงข้าม

หลังจากที่ได้ทบทวนสิ่งที่ควรแก้ไขก็ได้ลองเขียนใหม่อีกรอบ

一歳の赤ちゃんと赤ちゃんと同じくらいの大きさの犬がいました。ある日、赤ちゃんは犬の背に乗りたいと考えました。犬がちょうど寝ているので、都合がよくて、今のチャンスだと思った赤ちゃんは犬の目の前までハイハイしていきました。しかし、突然犬が目を覚まし、犬と目が合ってしまいました。赤ちゃんは驚き、あわてて、その場を離れましたが、どうしても犬の背に乗りたいと思い、向きを変えました。犬に気づかれないように、赤ちゃんは犬の背後に回り込んで乗ろうとしました。しかし、犬は赤ちゃんの考えを見通し、乗せたくなく、逆の方向を向きました。回り込んでいる赤ちゃんは、犬が向きを変えたのを見えなかったため、回り込んだ後にまた犬と顔を合わせ、不思議がりました。結局犬の背に乗れなく、良い作戦を立てたと思った赤ちゃんにとって悲しい話です。

สรุป
หลังจากได้ทำแบบฝึกหัดครั้งแรกไป ก็ทำให้เรารู้สึก เจ็บ แล้ว จำ เราคิดว่าเราน่าจะพูดได้ดีกว่านี้ ยิ่งไปแลกเปลี่ยนมาแล้ว ก็ควรที่จะพูดได้ดีกว่านี้ แต่ก็ทำได้ต่ำกว่าที่คิดไว้ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยเราก็ได้ศึกษาจากคนญี่ปุ่นว่า จริง ๆ ควรพูดอย่างไร ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ไม่เจ็บเลยก็คงไม่โต เนอะ :




Conclusion : วัดผล

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้ก็เป็นการอัพบล็อกครั้งสุดท้าย ขอบคุณที่ติดตามมาตลอดนะคะ (โค้งงาม ๆ ) ครั้งนี้ก็จะมาสรุปผลว่า ทำบล็อกนี้แล้วได้ตรงตาม...