สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ ขออภัยที่ห่างหายจากการอัพบล็อคไป 2 สัปดาห์นะคะ พอดีติดสอบและติดงานค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าเนอะ (^.^)
เมื่อสองประมาณสองสัปดาห์ก่อน
มีอาจารย์รับเชิญจากมหาวิทยาลัย Tohoku มาสอนเกี่ยวกับเรื่อง
敬語 ค่ะ
เรียนแล้วรู้สึกว่าอาจารย์ได้ช่วยเสริมความรู้พื้นฐานของ 敬語 ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
จากที่เคยเรียนการใช้ 敬語 แค่กับคนที่เราสนทนาด้วย (มีแค่ 2 คน) ครั้งนี้ก็ได้เรียนวิธีการใช้ 敬語 เวลาเรากล่าวถึงบุคคลที่ 3 ด้วย (มี 3 คน) มันอาจจะเป็นความรู้ที่ใคร ๆ ก็รู้สึกว่า “ไม่เห็นมีอะไรซับซ้อนเลย
ง่ายจะตาย ทำไมต้องเรียนเป็นจริงเป็นจัง” แต่ถ้าเกิดมีคนถามให้ช่วยอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา
ก็คงไม่รู้จะอธิบายอย่างไรแน่นอน
ครั้งนี้เราก็เลยจะมาสรุปความรู้
敬語ที่เราเข้าใจไว้ข้างล่างนี้
ประเภทของ敬語
1.
素材敬語: คำที่เราใช้กับคนที่เรากล่าวถึง
(เป็นได้ทั้งบุคคลที่ 2 หรือ 3) มีไว้แสดงว่าเราจะยกย่องเขาหรือไม่
· 尊敬形: รูปยกย่อง
· 謙譲形: รูปถ่อมตน
· 基本形: รูปปกติ (ไม่ได้ยกย่องและถ่อมตน)
2.
対者敬語: คำที่เราใช้กับคนตรงหน้าที่เราคุยอยู่ (บุคคลที่ 2) มีไว้แสดงว่าเราจะสุภาพหรือแสดงความสนิทสนมกับเขา
· 丁寧形: รูป ます
แสดงความสุภาพ ใช้กับคนที่ยังไม่สนิทหรือคนที่มีสถานะสูงกว่า
· 普通形: รูป plain form (-る) ใช้พูดกับเพื่อน
คนสนิท
อ่านแล้วอาจจะงงนิดหน่อย
ว่าทำไมถึงมีอะไรเยอะแยะไปหมด แต่ภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นภาษาที่มีความละเอียดอ่อน
สังคมญี่ปุ่นเองก็เป็นสังคมที่มีความละเอียดอ่อน
ระดับภาษาที่ใช้ถูกแบ่งยิบย่อยตามความสัมพันธ์ของคน แต่หลัก ๆ แล้ว เมื่อเราพูดกับคนอื่น คำพูดเขาเราก็จะประกอบไปด้วย
敬語 สองประการใหญ่ ๆ ข้างต้น หลังสังเกตคือ
素材敬語 (คำที่ใช้กับคนที่เรากล่าวถึง)
จะอยู่ต้น ๆ คำ
และ
対者敬語(คำที่ใช้กับคนที่เราสนทนาอยู่) จะอยู่ท้าย ๆ คำ
ตัวอย่าง
1. 学生1:あれ、北野先生はもうお帰りになった?
แต่เนื่องจาก 北野先生 ไม่ได้อยู่ตรงนั้น
ไม่ได้ยินสิ่งที่เราพูด
และคนที่ฟังคือเพื่อนเราเอง เพราะเหตุนี้ ในบทสนทนาระหว่างเพื่อนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยยกย่องอาจารย์กัน
บทสนทนาส่วนใหญ่จึงกลายเป็น
สรุป
学生1:あれ、北野先生はもう帰った?
学生2:うん、もう帰ったよ。
2.古川先生:あれ、北野先生はもう帰った?
และแม้ว่าผู้พูดจะพูดอยู่กับแค่บุคคลที่สอง
ไม่ได้พูดถึงบุคคลที่สามด้วย 素材敬語ก็มีบทบาทเช่นกัน
3.学生:先生、もうお帰りになりますか。
อย่างไรก็ตาม
ใช่ว่าเราควรจะผันกริยาให้เป็นรูป 敬語 ทุกอย่าง
แน่นอนว่ามีคำศัพท์ 敬語 ที่ใช้ไม่ได้เช่นกัน
ตัวอย่างเหตุผลหลัก
ๆ ที่บางคำผันเป็น 敬語 แล้วใช้ไม่ได้ มีดังนี้
1.
กริยาบางคำมี 敬語 เฉพาะอยู่แล้ว
×お知りしています ×お知りしている
〇ご存知
2.
กริยานั้นเป็นกริยาที่ไม่มีกรรม
ผู้พูดทำเองได้ ไม่มีบุคคลอื่นมาช่วยรับผลของการกระทำ และผู้พูดไม่ได้ต้องการแสดงความสุภาพกับบุคคลที่ฟังอยู่ การเปลี่ยนคำศัพท์เป็น
敬語 จึงเป็นเรื่องแปลก
(จุดสังเกตคือ
กริยาเหล่านี้มักเป็น 謙譲語ควรระมัดระวังในการใช้)
〇~ございます ×~ござる
〇~でございます ×~でござる
〇(に)おります ×(に)おる
〇~参ります ×~参る
〇~と申します ×~と申す
คำกริยาที่มี 〇นั้นใช้ได้
เพราะถึงแม้ว่าเป็นกริยาที่ผู้พูดทำเอง ไม่มีบุคคลอื่นมาช่วยรับผลของการกระทำ
แต่ผู้พูดต้องการแสดงความสุภาพกับบุคคลที่ฟังอยู่ จึงใช้ 敬語 ได้
สรุป
อ่านถึงตรงนี้อาจจะมีจุดที่เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ยังงง ๆ อยู่แต่ว่าถ้าดูจากตารางที่อาจารย์ได้สรุปมาให้ข้างล่างแล้ว
จะเห็นภาพรวมมากขึ้นค่ะ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านจนถึงตรงนี้นะคะ
หวังว่าทุกคนจะมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ 敬語 ค่ะ
ถ้ามีอะไรผิดพลาดตรงไหน คอมเม้นมาได้เลยนะคะ :)
เครดิต
ขอบคุณเว็บ
http://visualized-japanese.hatenablog.com/entry/2016/07/11/121611
ที่ช่วยไขข้อสงสัยให้กระจ่างมากขึ้นค่ะ เพื่อน ๆ ก็ลองอ่านเว็บนี้ดูได้นะคะ มีการ์ตูนอธิบายทำให้เข้าใจง่ายเลยค่ะ
ขอบคุณเว็บ
http://visualized-japanese.hatenablog.com/entry/2016/07/11/121611
ที่ช่วยไขข้อสงสัยให้กระจ่างมากขึ้นค่ะ เพื่อน ๆ ก็ลองอ่านเว็บนี้ดูได้นะคะ มีการ์ตูนอธิบายทำให้เข้าใจง่ายเลยค่ะ
เว็บที่แนะนำมีประโยชน์มากเลย มีเรื่องอื่นที่น่าสนใจด้วย การสรุปของ blog นี้ก็น่ารัก มีการ์ตูนน่ารักประกอบ
ReplyDeleteชอบความสรุปเป็นตาราง+มีภาพประกอบ เข้าใจง่ายจัง รู้สึกว่าอาจารย์อธิบายดีมากจริง กลับมาอ่านอีกรอบคือเก็ตมาก ๆๆๆ
ReplyDeleteตารางประกอบทำให้เกทไวมาก ๆ ค่ะ ชอบการจับจุดสังเกตว่าทำไมใช้ได้หรือไม่ได้ด้วย ส่วนสรุปก็ทำได้เข้าใจง่ายมากกก
ReplyDeleteตารางสรุปกับภาพประกอบทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้นเลยค่ะ
ReplyDelete