สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ สงกรานต์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้างคะ
ทุกคนได้ออกไปเล่นน้ำกันหรือเปล่าคะ หวังว่าเพื่อน ๆ ทุกคนจะมีความสุขและได้พักผ่อนในวันสงกรานต์นะคะ
(^.^)
(คนเขียนกลับบ้านเก่า นอนอืดเลยค่ะ)
วันนี้เราจะมาสรุปเรื่องการใช้คำช่วย は กับ が ค่ะ น่าแปลกที่คำช่วย はกับが เป็นคำช่วยแรก ๆ ที่หลายคนได้เรียนตอนเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่หลาย ๆ คน
(รวมถึงคนเขียนด้วย แหะ ๆ ) ยังคงกลับประสบปัญหาการใช้อยู่ บางครั้งบอกไม่ได้ว่าประโยคนี้ต้องใช้คำช่วยไหนถึงจะถูก
หรือบางครั้ง ในกรณีที่ใช้ได้คู่ แต่ก็บอกไม่ได้ว่ามันให้ความหมายต่างกันอย่างไร
ครั้งนี้เราก็เลยมาขอสรุปการใช้ของ はกับがอีกครั้ง
(การสรุปครั้งนี้
เราสรุปจากการเรียนในคาบ
Applied Japanese Linguistic และการหาข้อมูลอ้างจากอินเตอร์เน็ต ดูแหล่งอ้างอิงได้ข้างล่างสุด)
1. ประโยคหลัก VS ประโยคย่อย
- ขอบเขตของ は นั้นจะยาวกว่า และยาวไปจนจบประโยค
- ส่วนขอบเขตของ が จะสั้นกว่า จะจำกัดอยู่แค่ในประโยคหรือนามวลีเล็ก ๆ เพราะเหตุนี้
ตัวอย่าง
1)
จะเห็นได้ว่าประโยคหลัก
(สิ่งที่ต้องการจะพูด) คือ これは時計です
(นี่คือนาฬิกา) ขอบเขตของ は ที่อยู่ต้นประโยคไปสุดถึงท้ายประโยค
ส่วนที่เป็นส่วนขยาย (สิ่งที่มาเสริมใจความประโยค) คือ 私が東京で買った時計 (นาฬิกาที่ฉันซื้อมาจากโตเกียว)
ขอบเขตของ が จะครอบคลุมอยู่แค่กลางประโยค
2)
จะเห็นได้ว่าประโยคหลัก (สิ่งที่ต้องการจะพูด) คือ彼はまだやせていたい。(เขายังผอมอยู่ตอนนั้น)
ประโยคนี้จึงใช้ は
และประโยคย่อย
(สิ่งที่มาเสริมใจความประโยค) คือ 私が初めて会ったときに (ตอนที่ฉันเจอเขาครั้งแรก)
ประโยคนี้จึงใช้ が
2. ประโยคที่ผ่านการคิดไตร่ตรอง
VS. ประโยคที่พูดขึ้นทันที
- ประโยคที่ผ่านการคิดไตร่ตรอง หรือประโยคอธิบาย(判断文・説明文) มักใช้ 「は」
- ประโยคที่พูดขึ้นทันที หรือพูดง่าย ๆ คือประโยคที่เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหัน พูดออกไปโดยยังไม่คิด(現象文)มักใช้ 「が」
- ตัวอย่าง
- あっ、豚が飛んでいる。 อ๊ะ หมูกำลังลอยอยู่แหนะ (現象文)
- 電話はグラハム・ベルが最初に発明した。โทรศัพท์ริเริ่มประดิษฐ์โดย แกรห์ม เบลล์ (説明文)
- ตามความเห็นเรา เราคิดว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่พูด が ตอนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหันคือ が ออกเสียงในลำคอ ไม่ต้องขยับอวัยวะมากเท่าเวลาออกเสียง は เวลาออกเสียง は ต้องห่อปาก ทำให้พูดช้าลง
3.
คนฟังไม่รู้ VS. รู้
- ข้อมูลที่ผู้พูดคาดว่าคนฟังไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน หรือเป็นข้อมูลที่กล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก (新情報) มักใช้ 「が」(เทียบเท่าได้กับ article a)
- ข้อมูลที่ผู้พูดคาดว่าคนฟังรู้เรื่องมาก่อนแล้ว หรือเป็นข้อมูลที่พูดขึ้นเป็นครั้งที่สอง (旧情報) มักใช้ 「は」(เทียบเท่าได้กับ article the)
- ตัวอย่าง
- 1) A: すみません。ここに財布があったと思うんですが… (กล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก)
B:どんな財布ですか。
A:その財布は黒くて、長いです。(กล่าวขึ้นเป็นครั้งที่สอง ผู้ฟังรู้แล้ว)
2.富士山がきれいです。
(ภูเขาไฟฟูจิอยู่ข้างหน้า
และยังไม่มีใครรู้ว่าภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาไฟที่สวย)
富士山はきれいです。
(ภูเขาไฟฟูจิไม่ได้อยู่ตรงหน้า
และใคร ๆ ก็รู้ว่าภูเขาไฟฟูจิสวย)
4. เน้นข้างหน้า
VS.
เน้นข้างหลัง
- เน้นส่วนข้างหน้า ใช้ 「が」
- เน้นส่วนข้างหลัง ใช้ 「は」
·
ตัวอย่าง
開発企画部の木村と斉藤が明日の会議の出席者です。……①
木村は今回のプロジェクトの主担当です。……②
斉藤は今年入社したばかりの新人です。……②
木村が当日の進行役を務めます。……③
木村は今回のプロジェクトの主担当です。……②
斉藤は今年入社したばかりの新人です。……②
木村が当日の進行役を務めます。……③
① が เน้นประธานข้างหน้าสองคนว่า
สองคนนี้เองจะเข้าประชุมในวันพรุ่งนี้ ไม่มีคนอื่นแล้ว
② は เน้นส่วนหลัง
กำลังแนะนำให้รู้จักว่า คุณคิมุระคือเป็นคนดูแลหลักเรื่องโปรเจ็กครั้งนี้
ส่วนคุณไซโต้คือเด็กใหม่ (ซึ่งคุณไซโต้อาจจะเป็นเด็กใหม่คนเดียว
หรืออาจจะมีเด็กใหม่คนอื่นอีก)
③ が เน้นประธานข้างหน้า
บอกว่าคุณคุมิระนี่เองที่จะทำหน้าที่ 進行
ไม่ใช่คุณไซโต้
· จากที่ดูตัวอย่างข้างต้น
ในความคิดของเราは ใช้อธิบายว่าประธานคนนี้ทำ/เป็น
1 2 3 4 ไม่ได้เจาะลึกอะไรทั้งนั้น และไม่แคร์ว่าจะมีคนอื่นที่ทำ/เป็นเหมือนกันหรือไม่ แต่
が มีความเจาะจงว่าประธานคนนี้นี่แหละที่… ไม่มีคนอื่นแล้ว
5. หัวเรื่อง
- การทำให้ประธานเป็นหัวเรื่อง(topic) ใช้ 「は」
- ตัวอย่าง
B: กุญแจเหรอ
อยู่นี่ไง
จากที่เรียนกันมา
“กุญแจอยู่นี่” ต้องพูดว่า カギがここにあります แต่ในกรณีที่ต้องการจะบอกว่ากำลังพูดเรื่องกุญแจอยู่นะ
topic คือกุญแจ จะนิยมเปลี่ยน
が→は กลายเป็น カギはここにあります。
6. เปรียบเทียบ
- กรณีเปรียบเทียบของสองสิ่งขึ้นไป ใช้ 「は」
- ตัวอย่าง
- お酒は辞められますが、たばこは辞められません。เลิกเหล้าได้ แต่เลิกบุหรี่ไม่ได้
- ひらがなは書けますが、漢字は書けません。เขียนตัวอักษรฮิรากานะได้ แต่เขียนคันจิไม่เป็น
7. จำนวนอย่างน้อยที่สุด
- บอกจำนวนอย่างน้อยที่สุด ใช้ 「は」
- ตัวอย่าง
1) A: 漢字は日本で生活する上で2千字は覚えてほしい
ในการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น
ควรจำคันจิได้อย่างต่ำ 2,000 ตัว
B: 2千字も!?
ตั้ง
2,000 ตัวเลยเหรอ!
2) 彼の結婚式に1000人は来たそうだ。ได้ยินว่ามีแขกมางานแต่งงานของเขาอย่างต่ำ
1,000 คน
สรุป
หลังจากที่เขียนอธิบายมาหลายข้อ ทุกคนคงรู้สึกว่ารายละเอียดเยอะจัง
สับสน ยังจำไม่ได้ ทีนี้เราก็เลยลองรวบรวมสรุปออกมาเป็นตารางเดียวค่ะ
หวังว่าน่าจะช่วยให้เห็นภาพรวมขึ้นนะคะ
เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะเห็นภาพรวมขึ้นมาบ้างไหมคะ พอเราลองหาข้อมูลและสรุปออกมาแล้วก็รู้สึกว่า
เออ ไม่แปลกเลยที่คนหลายคนจะสับสนการใช้ は が เพราะมันมีลายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก มีความหมายแฝงที่ล่องหนในประโยคอยู่
มองด้วยตาปล่อยไม่เห็น ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
ต้องให้คนญี่ปุ่นอธิบายเพิ่มเติมว่ามันมีความหมายอะไรแฝงอยู่ และถึงแม้ว่าเราจะเข้าไปอ่านและสรุปออกมา
ก็รู้สึกว่ายังจำได้ไม่หมด อาจจะยังคงใช้ผิดอยู่
แต่สิ่งที่ได้จากการสรุปครั้งนี้คือ มันทำให้เราเห็นภาพรวมการใช้ は กับがมีความระมัดระวังการใช้มากขึ้น :)
แหล่งอ้างอิง
1.เอกสารในวิชา Applied Japanese Linguistic
แหล่งอ้างอิง
1.เอกสารในวิชา Applied Japanese Linguistic
โหห สรุปดีจัง ประทับใจจจ
ReplyDeleteป.ล.ซากุระนั่นถ่ายที่ไหนนน สวยยยยย
ขอบคุณมากๆนะคะน้องโต้ ดีใจจังง ^^ // ถ่ายที่โอซาก้าจ้า จังหวัดไม่ใกล้ไม่ไกล 5555
Deleteสรุปได้ละเอียดดีค่ะ มีเพิ่มนอกจากที่เรียนในห้องด้วย มีภาพประกอบวาดเองด้วย!
ReplyDeleteขอบคุุณมากๆนะคะอาจารย์ พอหาความรู้เพิ่มเติมแล้ว ทำให้รู้ว่ามีวิธีการใช้ที่เยอะแยะมากมายเลยค่ะ เริ่มมึน5555 รูป 4 ช่อง หนูเอามาจากเว็บอ้างอิงค่ะ แต่ถ้าคำอธิบายสีๆ หนูทำเองค่ะ ^^
Deleteสรุปละเอียดมาก! หลายอันคือลืมไปเลยว่าใช้กรณีได้จนมาอ่านที่อิงสรุป แง 555
ReplyDeleteขอบคุณมากๆนะมายด์ เราก็ไม่รู้มาก่อนเลยว่ามันใช้ได้เยอะขนาดนี้ มึนมาก 5555 (เดี๋ยวเราแวะไปเยี่ยมเยียนที่บล็อกมายด์นะ)
Deleteประทับใจการไปค้นคว้าเพื่อมาเขียนบล็อค ฮือออออ อยากขยันได้แบบนี้บ้าง แต่งบล็อคสวยน่าอ่านมากด้วยค่ะ อ่านง่าย
ReplyDeleteขอบคุณมากๆนะคะน้องแตงโม มีกำลังใจเขียนบล็อกขึ้นเลย >< โอ่ย น้องแตงโมขยันกว่าพี่เยอะ เชื่อพี่ 5555
Deleteสรุปเข้าใจง่ายมากเลยค่า อยากเขียนให้ได้แบบนี้บ้าง555
ReplyDeleteขอบคุณมากๆนะคะ ดีใจมากๆเลยที่อ่านแล้วเข้าใจ แงง เป็นคนพูดงงๆ กลัวน้องงงตาม .__. น้องต้องทำได้ดีกว่าพี่แน่นอน!
Deleteกราบการสรุปที่่น่ารักและเข้าใจง่าย วันหลังจะเปรียบเทียบให้น้องๆเห็น ขอยืมบล็อคของพี่ไปอธิบายนะคะ แง
ReplyDeleteขอบคุณมากๆนะคะ ดีใจมากๆเลยที่น้องๆอ่านแล้วเข้าใจ พี่เป็นคนงงๆ 5555 มีกำลังใจเขียนบล็อกขึ้นมาเลย ขอบคุณนะคะ // ยินดีค่ะ ดีใจ ><
Deleteได้มาอ่านอีกที ชอบการแบ่งเนื้อหาของพี่มากๆเลยครับ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นรูป ทำให้รู้สึกว่ามันมีอะไรมากขึ้น ดูเด่นออกมา ช่วยให้อ่านได้ง่ายขึ้นเยอะเลยครับ
ReplyDelete