สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันใหม่อีกครั้งนะคะ
ครั้งนี้อัพบล็อกเป็นครั้งที่ 6 แล้ว
ขอบคุณทุก ๆ คนที่ติดตาม (และหลงเข้ามานะคะ แหะๆ) ครั้งนี้จะมาสรุปเรื่อง んだ หรือのだ ค่ะ หัวข้อนี้
อาจารย์ได้พูดในหลายชั่วโมงก่อนหน้านี้ แต่เร็วนี้ ๆ
เราจะต้องสอนน้องเกี่ยวกับเรื่อง んだ เลยอยากกลับมาทบทวนอีกครั้ง
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ (^^)
เรามาเริ่มกันเลย
วิธีการใช้
1. ใช้อธิบายเหตุการณ์ (事情説明)
อย่างที่เพื่อนทราบกันดีว่า
んだ、のだ ใช้ตอนอธิบายเหตุการณ์ (事情説明) มาพูดถึงกรณีของคนที่ใช้ดีกว่า
คนที่ถามแล้วลงท้ายด้วย んですか/のだか/んだか ก็ถามแฝงอารมณ์ความสงสัย
และต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น (ง่ายๆคือ อยากรู้นั่นเอง)
ส่วนคนที่ตอบที่ใช้ んです/のだ/んだก็อยากอธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้น
(ใจมันอยากจะอธิบาย อยากให้เธอเข้าใจฉัน ได้ยินไหมมมม~)
เพื่อความเข้าใจง่าย มาดูตัวอย่างกันค่ะ
(1)A:どうして遅れたんですか。
B:ごめんなさい。バスが来なかったんです。
B:ごめんなさい。バスが来なかったんです。
ตัวอย่างนี้และรูปนี้เราอ้างอิงจากเว็บhttps://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/teach/tsushin/grammar/201006.html
ที่เนื้อหาตรงกับชีทที่อาจารย์แจกให้เลย 5555 (ถ้าใครสนใจกดเข้าไปดูในเว็บได้นะคะ
อธิบายเข้าใจง่ายดีค่ะ)
คุณ A ถามคุณ B ว่า “どうして遅れたんですか” มี んですかต่อท้าย แสดงให้เห็นว่าคุณ A อยากทราบเหตุผล ต้องการคำอธิบาย
ในสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนคุณ B ก็ตอบว่า มี “んです” ต่อท้าย แสดงให้เห็นว่าคุณ
B ก็อยากจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น (โปรดเข้าใจฉัน ~)
แต่ถ้าสองคนข้างบนไม่ได้ลงท้ายด้วย んです ล่ะ
(2) A:どうして遅れましたか。
B:バスが来なかったです。
B:バスが来なかったです。
ก็จะกลายเป็นบทสนทนาที่เหมือนคุณ A ถามโดยไม่ได้เจือปนความอยากรู้
ถามเฉยๆ (เหมือนถามลมฟ้าอากาศ) ส่วนคุณ B ก็เหมือนตอบสไตล์ บรรยายเหตุการณ์ Fact
เฉยๆ
จบ ไม่ได้อยากอธิบายให้เขามาเข้าใจเรา เฉยๆ ไม่ได้แคร์อะไร ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นประโยชน์ที่มีความ
客観
แต่แน่นอนว่า んだ/のだ ก็มีข้อระวังในการใช้เหมือนกัน
นั่นคือ
ใช้บ่อยแล้วดูเหมือนแก้ตัว หนีความรับผิดชอบ( 責任逃れの言い訳をする)
เนื่องจากประโยคที่เติม んだ
แฝงความรู้สึกที่อยากจะอธิบาย โปรดเข้าใจฉันเถอะนะ
พอใช้มากๆแล้วกลายเป็นว่าเราอธิบายมากเกินไป อ้างนู่นอ้างนี้
ดูเหมือนเราไม่ยอมรับผิด และจริงๆ แล้ว
การอธิบายดังกล่าวก็เป็นการอธิบายที่มองผ่านตัวผู้พูด และแฝงอารมณ์ล้วนๆ
เพราะฉะนั้นประโยคที่ใช้ んだ ก็มีความ 主観สูง
ดูไม่น่าเชื่อถือ
(2)A:どうして遅れたんですか。
B:バスが来なかったんです。あのバスはいつも遅れるんです。だから、仕方がないんです。
B:バスが来なかったんです。あのバスはいつも遅れるんです。だから、仕方がないんです。
อย่างไรก็ตาม การใช้ んだ
อย่างเดียวจะทำให้ดูเหมือนแก้ตัว มันก็ยังมีปัจจัยหลาย ๆ
อย่างที่ทำให้ประโยคดูเหมือนแก้ตัว เช่น เสียสูงต่ำ คำพูดที่เลือกมาใช้
ถ้าไม่อยากให้ดูเหมือนแก้ตัวมากเกินไป ก็ควรจะขอโทษก่อนและค่อยอธิบายเหตุการณ์
เหมือนกับตัวอย่างที่ (1) ข้างบนนี้
2. ใช้กับเหตุการณ์ที่มากระตุ้นความสนใจ
จากคำอธิบายข้างต้น หมายความว่า เราไปเห็น
ไปได้ยินอะไรสักอย่าง และผลจากการที่เราไปเห็นหรือได้ยินนั้น
มันไปกระทบจิตใจหรือกระตุ้นความสนใจของเรา เราเกิดความรู้สึกอยากพูด
มีเสียงก้องขึ้นในใจเรา ว่าเห้ย จริงเหรอ (อะไรประมาณนี้) และเราก็พูดความรู้สึกออกมา
พูดง่ายๆ คือ มีเหตุการณ์ที่กระตุ้นความสนใจของเราเกิดขึ้น
→ เราคิด (前提)→ เราพูดออกมา 「…んだ」
(3) 雨が降っている。
(4) 雨が降っているんだ。
ตัวอย่างที่ (3) เป็นการบรรยายสถานการณ์จริง
สิ่งที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้แทรกความคิดของผู้พูดลงไป คนพูดอาจจะมองออกไปข้างนอก
และเห็นว่าฝนตก ก็เลยพูดบอกเฉยๆว่า ฝนตกนะ ไม่ได้คิดอะไร
ตัวอย่างที่(4) ผู้พูดมองออกไปหน้าต่าง
และเห็นว่าฝนตก (เหตุการณ์) → เหตุการณ์ที่ฝนตกนั้นไปกระตุ้นความสนใจเธอเพราะ เธอไม่คิดว่าฝนจะตก
เธอไม่ได้พกร่มมา ทำยังไงดี (คิด)→ 雨が降っているんだ(どうしよう)(พูดออกมา)
(5) もう、レポートを書きましたか?
(6)(相手の完成したレポートを見て)
もう、レポートを書いたんですか!?
ตัวอย่างที่ (5) เหมือนกับตัวอย่างที่
1 คือ ถามทั่วๆไป ไม่ได้คิดอะไร คนพูดอาจจะถามเฉยๆ
ถามสถานการณ์ความเป็นจริงทั่วไป เขียนเสร็จก็ดี เขียนไม่เสร็จก็ไม่ใช่ปัญหา
ตัวอย่างที่ (6)
เพื่อนเขียนรายงานเสร็จแล้ว(เหตุการณ์) → เราเห็นเหตุการณ์นั้นแล้วก็ ห๊ะ เขียนเสร็จแล้วเหรอ เร็วจัง เรายังไม่เริ่มเขียนสักตัว
(ความคิด) → もう、レポートを書いたんですか!? (私はまだ書いていないけど…)
3. ใช้เน้นสิ่งที่ต้องการจะพูด
การใส่ のだ/んだ
เป็นการเน้นสิ่งที่ต้องการจะพูด ต้องการจะสร้าง impact พบการใช้ในประโยคสุดท้ายบ่อย
(7) 人間は社会的存在である。つまり、人間は他人と関係を持つことなしに生きることはできないのだ。
ตัวอย่างที่ (7) ประโยคแรกบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม
แต่ขอมาพูดอีกครั้งในประโยคสุดท้ายเพื่อเน้นและเพื่อความเข้าใจตรงกันคือ “พูดง่ายๆก็คือ
มนุษย์เนี่ยนะ ไม่สามารถดำรงชีวิตได้หากปราศจากการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น”
ข้อระวังคือ ใช้บ่อยแล้วอาจมีความหมายว่า
เคยบอกไปแล้ว
หรือมันเป็นเรื่องที่คุณก็รู้อยู่แล้ว แต่ฉันก็จะมาเน้นย้ำอีกรอบหนึ่ง
(แสดงความไม่พอใจ)
(8)急いでいるんです。だから、早くして下さい。
ตอนนี้รีบอยู่นะ (คุณก็น่าจะรู้ หรือดูออก)
คุณก็ควรรีบทำอะไรเร็ว ๆ ด้วย
4.「…んですが、…」/ 「…のですが、…」ใช้เกริ่นนำ
การใช้ 「…んですが、…」นั้นฟังดูสุภาพนุ่มนวลกว่าการใช้ 「…ですが」 ที่แสดงเจตตามาโต้ง ๆดูโผงผาง
「…んですが、…」เหมือนคนพูดค่อย
ๆ แง้มประตูความรู้สึกออกมาอย่างสุภาพ
ตัวอย่าง
(9) ちょっとお話があるんですが、今よろしいでしょうか。
(10)テレべの音が大きいのですが、音を小さくしていただけませんか。
สรุป
เพื่อความเข้าใจง่าย เราก็จะขอสรุปหัวข้อสำคัญ ๆ อีกครั้ง
เห็นมีวิธีการใช้และมีข้อระวังที่หลากหลายย่างนี้ จริง ๆ แล้ววิธีการใช้
「んだ」「のだ」 ล้วนมีพื้นฐานมาจาก
หรือพูดง่าย ๆ คือ
ใจที่อยากถาม (のか)
และ
ใจที่อยากพูด (のだ)
เหตุการณ์ที่มากระตุ้นความสนใจนี่ใช้แบบไม่รู้ตัวมาตลอดว่าทำไมใช้ได้จนมาอ่านที่อิงสรุป 555 ชอบที่อิงสรุปนะ สั้น กระชับ เข้าใจง่ายดี แล้วจะแวะเวียนเข้ามาอ่านใหม่นะ ^^
ReplyDeleteขอบคุณมากๆนะ ดีใจมากๆเลยที่มายด์เข้าใจ ตอนแรกก็ไม่มั่นใจว่าเพื่อนๆจะอ่านเข้าใจป่าว 5555 มีกำลังใจในการเขียนบล็อกมากขึ้นเลย^^ (เดี๋ยวเราแวะไปที่บล็อกมายด์ทีหลังนะ)
Deleteสรุปได้อ่านง่ายมากเลยค่ะ พี่อิงอธิบายได้ชัดเจนและเข้าใจง่ายมากเลย
ReplyDeleteแต่เหมือนเม้นของพี่มายด์เลยค่ะ เพิ่งรู้ว่ามีเรื่องเหตุการณ์ที่มากระตุ้นความสนใจด้วย ! คืออย่างประโยคที่ยกตัวอย่างมาเราก็มีใช้ตามแบบเค้าแต่ไม่ได้ตระหนักตรงนี้เท่าไหร่ บางทีก็ใช้ไปอัตโนมัติ
แล้วก็เรื่องข้อควรระวังการใช้ที่เหมือนเน้นย้ำว่าเรื่องนี้เธอก็น่าจะรู้อยู่แล้วไม่ใช่หรอ อันนี้ก็เห็นด้วยค่ะ
แต่จริงๆรู้สึกว่าบังคับตัวเองไม่ให้พูด んです ยากมาก เพราะบางทีชอบเผลอพูดประโยครูปกันเอง ลืมไปต้องพูดสุภาพเลยชอบเอา んです มาปิด แง้ สรุปแทนที่จะสุภาพกลายเป็นว่าไปกันใหญ่เลย 5555
สรุปได้ดีมากเลยค่ะ มีรูปประกอบน่ารักมาก ถ้าเติมเรื่อง のだ ในภาษาเขียน(ที่เราเรียนในห้อง)ด้วยจะสมบูรณ์เลยค่ะ
ReplyDeleteขอบคุณพี่อิงที่สรุปและอธิบายได้อ่านเข้าใจง่ายมากเลยครับบบ แบ่งเป็นส่วนๆ ชัดเจนดีมาก จริงๆ ผมเคยทำเรื่องนี้มาก่อนตอนทำรายงานของวิชาภาษาศาสตร์ แต่ก็รู้สึกว่าความรู้ที่ได้ตอนนั้นมันยังครึ่งๆ กลางๆ พอมาอ่านที่พี่เขียนแล้วก็ช่วยให้ผมได้ทั้งทบทวนและก็ได้เข้าใจอะไรมากขึ้นเยอะเลยครับ!
ReplyDelete