Wednesday, May 15, 2019

Review : สอนอย่างไรจึงได้ผล (Output Hypothesis)



สวัสดีค่า ครั้งที่ก็อัพบล็อกเป็นครั้งที่ 9 แล้ว ขอบคุณที่ติดตามมาตลอดนะคะ (ปรากฎว่าไม่มี...) ครั้งนี้ก็จะมาพูดถึง วิธีการสอนที่อิง Output Hypothesis  ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ตรงกันข้ามกับ Input Hypothesis ที่พูดไปเมื่อครั้งที่แล้วเลย Output Hypothesis เป็นอย่างไร มันดีอย่างไร เราไปดูกัน J

สอนภาษาที่สองแบบใดจึงได้ผล : ใช้ภาษานั้นให้มาก (Output Hypothesis)

วิธีนี้เป็นวิธีที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลองใช้ภาษาหลาย ๆ ครั้ง (หรือแสดง output ออกมา) เป็นวิธีการสอนที่เกิดขึ้นเพื่ออุดช่องโหว่ของวิธีการสอนแบบ Input อย่างเดียว วิธีการสอนแบบนี้อิงทฤษฎี Output Hypothesis ของ Merrill Swain




 Merrill Swain เชื่อว่า การสังเกตและการตระหนักรู้เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ภาษา และการสร้าง output  หรือการให้ผู้เรียนได้ลองสร้างภาษาเองจะช่วยให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงช่องว่าง (Gap) ระหว่าง

การได้รับรู้ช่องว่างนี้ทำให้ผู้เรียนได้ตระหนักว่า ความสามารถของตัวเองยังไม่พอ และ รู้ว่าต้องพยายามอีกแค่ไหนถึงจะไปถึงจุดนั้น ส่งผลให้ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้มากขึ้น รู้ว่าเรียนไปทำไม

นอกจากนี้ หากฝึกแสดง output แล้ว จะทำให้ผู้เรียนได้ลองใช้ภาษาดูว่าสื่อเข้าใจหรือไม่ (Hypothesis Testing) เมื่อลองแล้ว ผู้เรียนก็เกิดการสังเกต (Noticing) ว่า พูดแบบนี้แล้วเขารู้เรื่องไหม ใช้คำศัพท์นี้แล้วเขาเข้าใจไหม พอรู้แล้วว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้  ผู้เรียนก็จะเรียบเรียงความคิดความเข้าใจกฎใหม่ (Restructuring)


กระบวนการดังกล่าวจะไม่เกิดใน Input Hypothesis ที่เน้นให้ผู้เรียนรับอย่างเดียว เพราะผู้เรียนที่รับแต่ input จะโฟกัสแค่ การเข้าใจความหมาย(เข้าใจความหมายก็จบ ) แต่ผู้เรียนที่แสดง output จะมุ่งไปที่ การสร้างภาษา เขาต้องลองทำ สังเกต  จึงจะเข้าใจกฎของภาษาจริง ๆ และยิ่งสร้างภาษาบ่อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างภาษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น (Automatization)


ทฤษฎี Output Hypothesis ทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาผ่านกิจกรรม (Task-Based Language Teaching) ซึ่งมีอยู่  2 แบบคือ

1. Input -> Output :
ผู้สอนให้ Input ระดับหนึ่ง แล้วจึงให้ผู้เรียนแสดง Output (เราว่าเหมือนในตำราทั่วไป เช่น あきこ)

2. Output -> Input (Task-precede role playing)
ผู้เรียนแสดง Output ก่อนแล้วผู้สอนค่อยให้ Input แก่ผู้เรียน วิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงช่องว่างอย่างมาก มันอาจจะเป็นเรื่องดี แต่ถ้าให้ทำมาก ๆ แล้วผู้เรียนก็จะรู้สึกเครียดได้ว่าทำไมถึงทำไม่ได้(เหมือนการสอน Roleplay ตอนปีสอง และการสอนของอาจารย์กนกวรรณ แต่อาจารย์น่ารักมากเลย เลยไม่เครียดเท่าไหร่ <3 )

เมื่อแสดง output และได้ Input แล้ว ผู้เรียนก็จะได้เปรียบเทียบระหว่างการใช้ภาษาของตนและการใช้ภาษาของคนที่มีความสามารถสูงกว่า (ครู เจ้าของภาษา) ทำให้รู้ว่าเขาใช้ศัพท์ ไวยากรณ์อะไร ทำให้เกิด Cognitive Comparison

สรุป

เราลองมาทบทวนกันอีกรอบหนึ่งว่า Output Hypothesis มีข้อดีอย่างไร

สำหรับเรา เรารู้สึกว่าการ Input นั้นเป็นเรื่องดี แต่การ Input อย่างเดียวคงไม่พอ ต้องให้ผู้เรียนแสดง Output ออกมาด้วยเพื่อให้ผู้เรียนได้ลองสร้างภาษาเองและนำไปประยุกต์ใช้เองได้ เพราะตอนถึงสถานการณ์จริง เราคงไม่ได้แบกตำราไปไหนมาไหนเพื่อหาคำตอบว่าเราควรจะตอบเขายังไง จริงไหม :)


2 comments:

  1. ชอบภาพ Swainさん ตอนสาวมาก555

    ReplyDelete
  2. ชอบรูปGapมาก คือเห็นปุ๊บแล้วเข้าใจเลย!

    ReplyDelete

Conclusion : วัดผล

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้ก็เป็นการอัพบล็อกครั้งสุดท้าย ขอบคุณที่ติดตามมาตลอดนะคะ (โค้งงาม ๆ ) ครั้งนี้ก็จะมาสรุปผลว่า ทำบล็อกนี้แล้วได้ตรงตาม...