สวัสดีค่า
วันนี้จะมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนกันไปในห้องค่ะ นั่นก็คือ “สอนภาษาที่สองแบบใดจึงได้ผล”
เรารู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่น่ารู้มากๆ และควรจำไว้หน่อยก็ดี
เพราะเราเองก็สอนพิเศษน้องอยู่เหมือนกัน คงได้ใช้เยอะเลย J
ครั้งนี้เราจะโฟกัสที่วิธีการ “ฟังและอ่านภาษานั้นให้มาก
(input
hypothesis) ” แต่ก่อนอื่น
เราจะมาลิสกันก่อนว่า ที่เราเรียน ๆ มาทั้งหมดนั้นมีวิธีอะไรบ้าง
สอนภาษาที่สองแบบใดจึงได้ผล
1.
ฟังและอ่านภาษานั้นให้มาก (Input Hypothesis)
2.
พูดคุยกับเจ้าของภาษา (interaction Hypothesis)
3.
ใช้ภาษานั้นให้มาก (Output Hypothesis)
4.
ให้ผู้เรียนสังเกตและใส่ใจ (Noticing Hypothesis)
5.
คำนึงถึงจิตวิทยาของผู้เรียน (Affective Filter Hypothesis)
6.
คำนึงถึงกลไกการเรียนของผู้เรียน
7.
ให้สังคมและสภาพแวดล้อมเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Sociocultural Approach)
8.
ให้ความสำคัญทั้งเนื้อหาและภาษาไปพร้อมกัน (Content
and Language Integrated Learning : CLIL)
( โห เราเรียนถึง 8 วิธีเลยเหรอ เราก็เรียนมาเยอะเหมือนกันนะเนี่ย )
ต่อมา เรามาเข้าเรื่อง Input Hypothesis ของเรากัน
สอนภาษาที่สองแบบใดจึงได้ผล : ฟังและอ่านภาษานั้นให้มาก
(Input Hypothesis)
วิธีนี้เป็นวิธีที่เน้นให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนไปเยอะ ๆ เช่น ฟังให้มาก อ่านให้มาก ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว (input) ไม่เน้นให้ผู้เรียนใช้ภาษานั้นให้มา (output) เช่น ไม่เน้นการพูด การเขียน ทฤษฎีการเรียน Input Hypothesis นี้นำเสนอโดย Stephen Krashen
Stephen Krashen คิดว่า ไม่ใช่ Input อะไรก็ได้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ แต่ Input ที่ดี มีอยู่ 2 แบบ คือ
วิธีนี้เป็นวิธีที่เน้นให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนไปเยอะ ๆ เช่น ฟังให้มาก อ่านให้มาก ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว (input) ไม่เน้นให้ผู้เรียนใช้ภาษานั้นให้มา (output) เช่น ไม่เน้นการพูด การเขียน ทฤษฎีการเรียน Input Hypothesis นี้นำเสนอโดย Stephen Krashen
Stephen Krashen คิดว่า ไม่ใช่ Input อะไรก็ได้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ แต่ Input ที่ดี มีอยู่ 2 แบบ คือ
1. Input ที่เข้าใจได้ (Comprehensible Input) หมายความว่า
ต้องเป็น input ที่มีลักษณะ
i+1
(I คือความสามารถของผู้เรียน
และ 1 คือ
ระดับความยากที่ยากขึ้น 1 ระดับ)
พูดง่าย ๆ คือ
input ที่มีความยากกว่าความสามารถของตัวผู้เรียนมาแค่ 1 ระดับ
(ยากไปก็ไม่เก็ต ง่ายไปก็ไม่เก่ง)
สรุป
อย่างไรก็ตาม วิธีการสอนแบบนี้เน้นแค่การ input ไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาทุกด้านได้ จึงจำเป็นต้องสอนหลายหลายวิธีเพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะอย่างรอบด้านมากขึ้น! ในครั้งหน้า เราจะแนะนำ Output Hypothesis ที่่เป็นขั้วตรงข้ามของ Input Hypothesis ค่ะ ส่วนคอนเทนต์นี้ ขอลาไปก่อน สวัสดีจ้าา :)
input ที่มีความยากกว่าความสามารถของตัวผู้เรียนมาแค่ 1 ระดับ
(ยากไปก็ไม่เก็ต ง่ายไปก็ไม่เก่ง)
2) Input จำนวนมาก (Lots of Input) หมายความว่า
ต้องให้ Input ในปริมาณที่มาก
(ถ้าให้น้อยไปก็ไม่เกิดการเรียนรู้)
การเรียนการสอนที่สนับสนุนการสอนที่ให้ input จำนวนมาก
มีดังนี้
1)
Immersion Program : การสอนที่ใช้ L2
ในการสอนเนื้อหา
เป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในโรงเรียนนานาชาติ
2) Content-Based Instruction : การสอนที่ใช้
L2 ในการสอนเนื้อหา
แต่มีการปรับภาษาที่ใช้อธิบายเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ (ลักษณะ i+1)
3) Natural Approach : การสอนที่ใช้ L2
ในการสอนเนื้อหา
มีการปรับภาษาให้เข้าใจมากขึ้น เน้น input ที่ผู้เรียนสนใจ และ input ที่เข้าใจได้
(i+1)
ทำให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลายในการเรียนรู้
4) Total
Physical Approach : การสอนที่เน้น ฟัง ดู ปฏิบัติ (คล้าย Natural
Approach แต่มีการปฏิบัติเข้ามา)
โดยที่การปฏิบัตินั้นผู้เรียนต้องรู้สึกอยากปฏิบัติออกมาเอง
เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกไม่เครียด
สรุป
อย่างไรก็ตาม วิธีการสอนแบบนี้เน้นแค่การ input ไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาทุกด้านได้ จึงจำเป็นต้องสอนหลายหลายวิธีเพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะอย่างรอบด้านมากขึ้น! ในครั้งหน้า เราจะแนะนำ Output Hypothesis ที่่เป็นขั้วตรงข้ามของ Input Hypothesis ค่ะ ส่วนคอนเทนต์นี้ ขอลาไปก่อน สวัสดีจ้าา :)
เหมือนเป็นการสรุปทบทวนให้รุ่นน้องต่อไปเลย ตัวอักษรใหญ่ อ่านง่าย (เข้าใจคนแก่)
ReplyDelete