พบกันอีกครั้งกับบล็อก Oh!
Nihongo
ครั้งนี้เราก็ขอเข้าภารกิจเลยแล้วกัน ภารกิจนั้นคือ “จงเขียนแนะนำทางจาก BTS ช่องนนทรี
ไปจนถึงตึกบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเข้าใจง่าย โดยที่คนญี่ปุ่นที่ไม่เคยมานั้นอ่านแล้วสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายได้”
ตอนแรกที่ได้รับหัวข้อนี้
รู้สึกเลยว่าไม่ง่ายเลย เพราะมีทางไปได้หลายทาง และหาจุดสังเกตอะไรไม่ค่อยเจอ แต่สุดท้ายก็ได้ลองเขียนออกมาโดยใช้เส้นทางถนนอังรีดูนังต์
チュラロンコン大学文学部BRKビルへの行き方
まず、BTS チョンノンシー駅でサナムキラーヘンチャート行きの電車に乗り、サイアム駅という3つ目の駅に降りてください。サイアム駅に着いたら、6番目の出口を出てください。出たときに、2つの道が分けられますが、右側の階段を下りず、ピンク色の店を通り、まっすぐ行ってください。100メートルくらい行き、また2つの道が見えますが、右側の階段を下りてください。下りたときに、左側に大通りで、右側に並んでいる店が見えます。階段から100メートルくらいまっすぐ行くと、道路が見えます。それを渡り、50メートルくらい行き、また道を渡ってください。それから700メートルくらいずっとまっすぐ行ってください。行く途中、チュラロンコン大学の動物病院、トリアムウドムスックサー高校、チュラロンコン大学の美術学部、サーティットチュラ学校、バス停、歩道橋、順に見えます。歩道橋を少し通り、前にある右側の入り口に入ってください。あそこに入ったら、チュラロンコン大学の中です。入ったときに、左側にあるお寺のようなビルと右側にある高いビルが見えます。入り口からまっすぐ行き、右側にある2つ目の高いビルまで行ってください。チュラロンコン大学文学部BRKビルはあそこです。ビルの目の付くものは、ビルの前に広くて大きい階段です。
ปัญหาที่เจอระหว่างที่เขียน (จากมุมมองของตนเอง)
1. ไม่รู้จะตั้งชื่อหัวข้ออย่างไรให้น่าสนใจ
2. เวลาบอกทางว่าให้ไปทางนั้น มักเขียนด้วยรูป ~てください แต่ก็ไม่มีความมั่นใจว่าใช้รูปอื่นในการบอกทางได้ไหม
เช่น รูปสุภาพ ~ます เพราะมีความคิดว่าการบอกทางคนอื่นหมายถึงการบอกให้เขาทำอะไร
เดินไปทางไหน
3. ใช้คำศัพท์เดิม ๆ
ไม่ค่อยใช้คำศัพท์ที่หลากหลาย เช่น มีการใช้คำว่า行くถึง 8 ครั้ง
4. กะระยะทางไม่ถูก
5. บางสถานที่ไม่มีภาษาอังกฤษกำกับ จึงต้องอธิบายลักษณะตึกและบริเวณรอบ
ๆ แทน แต่ก็นึกคำศัพท์มาอธิบายไม่ค่อยออก
6.
จะเขียนอย่างไรให้อ่านแล้วรู้สึกไหลลื่นเป็นธรรมชาติ
(ซึ่งเข้าใจดีว่าเป็นปัญหาของทุกคนที่เรียนภาษาอื่น)
หลังจากเขียนแล้วก็ได้รับคำแนะนำจากหลาย
ๆ คนและจากอาจารย์มาว่า
ข้อดี
1. มีการอธิบายเป็นขั้นเป็นตอน และระหว่างทางนั้นเจออะไรบ้าง ทำให้มั่นใจได้ว่ามาถูกทางแล้ว
ข้อที่อยากแนะนำให้แก้ไข
1. สามารถรวบรายละเอียดตอนข้ามถนนเป็น
“เดินตรงไป” ได้
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
2. ประเด็นเรื่องคำช่วย
電車 を 降りる
駅 で 降りる
3. ประเด็นเรื่องมุมมอง
- ตอนบอกว่าเห็นวัด ควรบอกว่าเป็นวัดแบบไหน แบบไทยหรือแบบญี่ปุ่น เพราะถ้าพูด お寺เฉยๆ คนญี่ปุ่นก็จะนึกถึงวัดแบบญี่ปุ่น
- การบอกว่าสิ่งนี้อยู่右側 (ฝั่งขวา)、左側(ฝั่งซ้าย) นั้น เอาอะไรยึดเป็นหลักในการมอง ฝั่งซ้ายฝั่งขวานั้นไม่ตายตัว มันจะเปลี่ยนไปตามจุดที่คนยืน ดังนั้นควรใช้คำว่า 右手(ทางขวามือ)、左手(ทางซ้ายมือ) เพื่อบอกว่า “(เมื่อเดินทางมาถึงแล้วหันหน้าเข้าหามัน) มันจะอยู่ทางขวามือ/ซ้ายมือของท่าน”
4. ประเด็นเรื่องความคิดของตนเอง
- การบอกว่าเห็นตึก “สูง” นั้น “สูง” อาจจะเป็นเพียงความคิดเราคนเดียว เป็นความคิดแบบ 主観的 จึงควรอธิบายลักษณะอื่นทุกคนต่างก็เห็นพ้องด้วย
คำศัพท์และสำนวนเพิ่มเติม
หลังจากที่ได้รับความแนะนำแล้ว
เราก็ได้ลองไปอ่านผลงานของคนญี่ปุ่นเวลาเขาบอกทางจริง ๆ ว่า เขามีการใช้สำนวนอย่างไร
ใช้คำศัพท์ไหนบ้าง ซึ่งเราก็ได้รวบรวมมาไว้ข้างล่างนี้แล้ว
1. ขึ้นรถ = 乗る、*乗り込む、乗車する
*乗り込む แฝงความหมายว่าเข้าไปในยานพาหนะพร้อมกับคนหมู่มาก เช่น 通勤の客がいっせいに電車に乗り込む。
2.ลงรถ = 降りる、下車する a
3. ถึง = 着く、到着する、*たどり着く(ไปถึงด้วยความยากลำบาก)
4. เดิน = 行く、進む
5. เดินตรงไป = まっすぐ行く、直進する
6. ผ่าน = 通る、通過する
7. ขึ้นบันได = (階段を)上る、昇る
(ตามข้อมูลของ Ninjal corpus แล้ว มีคนใช้ 上るมากกว่านิดหน่อย)
8. ข้ามไฟจราจร = 信号を横断する
9. ตู้รถไฟ = 車両(しゃりょう)
- รถไฟตู้แรก = 一番前の車両・先頭車両
- รถไฟตู้สุดท้าย = 最後尾(さいこうび)の車両
10. N ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ/ขวามือ = (左手・右手)に(ある・見える) N...
11. เปลี่ยนสายรถไฟ▲▲ ที่สถานี 〇〇 = 〇〇駅で▲▲線に乗りかえる
12. มีการใช้คำลงท้ายกริยาทั้ง
~てください、~ます、~ましょう
สรุปสิ่งที่ควรแก้ไข
1.
ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
2. ใช้คำกริยาและคำลงท้ายกริยา
(~てください、~ます、~ましょう) ให้หลายหลายมากยิ่งขึ้น
เพื่อฝึกฝนใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ และเพื่อลดความจำเจ
3. ระวังเรื่องคำช่วย
4. เขียนให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยการลดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นและสรุปเส้นทางออกมา
5.
ระวังเรื่องมุมมองของตนเองและคนที่อ่าน
- อธิบายว่าเป็น お寺แบบไหน
- เปลี่ยนจาก 左側、右側 เป็น 左手、右手
6. ระวังเรื่องการใส่สารที่สอดแทรกความคิดเห็นของเราลงไป
ควรอธิบาย Fact ของสิ่งนั้นที่ไม่ว่าใครก็เห็นเป็นแบบนั้นด้วย
- 高いビル(?)
จบท้ายนี้ก็ขอฝากรูปสวย ๆ
จากญี่ปุ่นให้กับทุก ๆ คนที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกนี้และอ่านจนจบนะคะ ขอบคุณค่ะ
お疲れさまでした。最後まで読んでくれてありがとうございました。またね。o(^-^)o
มีการสรุปคำศัพท์ที่เก็บจาก resource ต่างๆ(เช่น ตย.ของคนญี่ปุ่น และจากคอร์ปัส) ด้วยซึ่งต่างจากคนอื่น ดีค่ะ หลังจากแก้ไขแล้ว ฉบับสุดท้ายต่างกับฉบับแรกยังไงคะ (หากมีตย.และการเปรียบเทียบสองฉบับ จะยิ่งเข้าใจมากขึ้น) เช่น ในที่สุดเราได้ปรับการใช้ 文末表現 จากตอนแรกที่ไม่รู้จะจบประโยคอย่างไร...เราปรับเป็นแบบใดบ้าง เพราะอะไร หากการ 内省(モニター)ตัวเองตรงนี้ชัดเจนกว่านี้จะดีมากๆๆเลยค่ะ
ReplyDeleteชอบตรงที่มีสรุปศัพท์จัง แถมมีบอกด้วยว่าคำนี้ใช้ในเชิงความหมายไหน จะได้เอาไปใช้ได้จริงโดยไม่ต้องสับสนว่าใช้ถูกบริบทมั้ย
ReplyDeleteชอบตรงมีสรุปศัพท์ที่คนญี่ปุ่นใช้เหมือนเมนท์บนเลยค่า แต่รู้สึกมีเรื่อง fact นิดหน่อยนะคะ เหมือนพี่จะเขียนว่าผ่านสาธิตจุฬาฯ มันคือสาธิต มศว. ปทุมวันหรือเปล่าคะ
ReplyDeleteชอบตรงที่พี่สรุปในเชิง 分析ตัวเองดีมากเลยว่า ข้อดีคืออะไรข้อเสียคืออะไรทำให้เห็นว่าควรพัฒนาอะไร นำอะไรมาเสริมมาตัดได้ชัดเจนอ่ะ
ReplyDelete