Sunday, April 28, 2019

Review : How to...んだ/のだ 





สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันใหม่อีกครั้งนะคะ ครั้งนี้อัพบล็อกเป็นครั้งที่ 6  แล้ว ขอบคุณทุก ๆ คนที่ติดตาม (และหลงเข้ามานะคะ แหะๆ) ครั้งนี้จะมาสรุปเรื่อง んだ หรือのだ ค่ะ หัวข้อนี้ อาจารย์ได้พูดในหลายชั่วโมงก่อนหน้านี้ แต่เร็วนี้ ๆ เราจะต้องสอนน้องเกี่ยวกับเรื่อง んだ เลยอยากกลับมาทบทวนอีกครั้ง หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ (^^) เรามาเริ่มกันเลย

วิธีการใช้
1.    ใช้อธิบายเหตุการณ์  (事情説明)
              อย่างที่เพื่อนทราบกันดีว่า んだ、のだ ใช้ตอนอธิบายเหตุการณ์ (事情説明) มาพูดถึงกรณีของคนที่ใช้ดีกว่า
คนที่ถามแล้วลงท้ายด้วย んですか/のだか/んだか ก็ถามแฝงอารมณ์ความสงสัย และต้องการคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น (ง่ายๆคือ อยากรู้นั่นเอง)
ส่วนคนที่ตอบที่ใช้ んです/のだ/んだก็อยากอธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้น (ใจมันอยากจะอธิบาย อยากให้เธอเข้าใจฉัน ได้ยินไหมมมม~) 
เพื่อความเข้าใจง่าย มาดูตัวอย่างกันค่ะ




1)A:どうして遅れたですか。
  
  B:ごめんなさい。バスが来なかったです。

ตัวอย่างนี้และรูปนี้เราอ้างอิงจากเว็บhttps://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/teach/tsushin/grammar/201006.html ที่เนื้อหาตรงกับชีทที่อาจารย์แจกให้เลย 5555 (ถ้าใครสนใจกดเข้าไปดูในเว็บได้นะคะ อธิบายเข้าใจง่ายดีค่ะ)
คุณ A ถามคุณ B ว่า どうして遅れたですか มี んですかต่อท้าย แสดงให้เห็นว่าคุณ A อยากทราบเหตุผล ต้องการคำอธิบาย ในสิ่งที่เกิดขึ้น ส่วนคุณ B ก็ตอบว่า มี んですต่อท้าย แสดงให้เห็นว่าคุณ B ก็อยากจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น (โปรดเข้าใจฉัน ~)

แต่ถ้าสองคนข้างบนไม่ได้ลงท้ายด้วย んです  ล่ะ

  (2) A:どうして遅れましたか。
 
               B:バスが来なかったです。

ก็จะกลายเป็นบทสนทนาที่เหมือนคุณ A ถามโดยไม่ได้เจือปนความอยากรู้ ถามเฉยๆ (เหมือนถามลมฟ้าอากาศ) ส่วนคุณ B ก็เหมือนตอบสไตล์ บรรยายเหตุการณ์ Fact เฉยๆ จบ ไม่ได้อยากอธิบายให้เขามาเข้าใจเรา เฉยๆ ไม่ได้แคร์อะไร ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นประโยชน์ที่มีความ 客観
แต่แน่นอนว่า んだ/のだ ก็มีข้อระวังในการใช้เหมือนกัน นั่นคือ

ใช้บ่อยแล้วดูเหมือนแก้ตัว หนีความรับผิดชอบ 責任逃れの言い訳をする)

เนื่องจากประโยคที่เติม んだ แฝงความรู้สึกที่อยากจะอธิบาย โปรดเข้าใจฉันเถอะนะ พอใช้มากๆแล้วกลายเป็นว่าเราอธิบายมากเกินไป อ้างนู่นอ้างนี้ ดูเหมือนเราไม่ยอมรับผิด และจริงๆ แล้ว การอธิบายดังกล่าวก็เป็นการอธิบายที่มองผ่านตัวผู้พูด และแฝงอารมณ์ล้วนๆ เพราะฉะนั้นประโยคที่ใช้ んだ ก็มีความ 主観สูง ดูไม่น่าเชื่อถือ



2)A:どうして遅れたんですか。
             
  B:バスが来なかったんです。あのバスはいつも遅れるんです。だから、仕方がないんです。


อย่างไรก็ตาม การใช้ んだ อย่างเดียวจะทำให้ดูเหมือนแก้ตัว มันก็ยังมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ประโยคดูเหมือนแก้ตัว เช่น เสียสูงต่ำ คำพูดที่เลือกมาใช้ ถ้าไม่อยากให้ดูเหมือนแก้ตัวมากเกินไป ก็ควรจะขอโทษก่อนและค่อยอธิบายเหตุการณ์ เหมือนกับตัวอย่างที่ (1) ข้างบนนี้

2.      ใช้กับเหตุการณ์ที่มากระตุ้นความสนใจ


จากคำอธิบายข้างต้น หมายความว่า เราไปเห็น ไปได้ยินอะไรสักอย่าง  และผลจากการที่เราไปเห็นหรือได้ยินนั้น มันไปกระทบจิตใจหรือกระตุ้นความสนใจของเรา เราเกิดความรู้สึกอยากพูด มีเสียงก้องขึ้นในใจเรา ว่าเห้ย จริงเหรอ (อะไรประมาณนี้) และเราก็พูดความรู้สึกออกมา
พูดง่ายๆ คือ มีเหตุการณ์ที่กระตุ้นความสนใจของเราเกิดขึ้น เราคิด (前提) เราพูดออกมา んだ」

 (3) 雨が降っている。
(4) 雨が降っているんだ。

ตัวอย่างที่ (3) เป็นการบรรยายสถานการณ์จริง สิ่งที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้แทรกความคิดของผู้พูดลงไป คนพูดอาจจะมองออกไปข้างนอก และเห็นว่าฝนตก ก็เลยพูดบอกเฉยๆว่า ฝนตกนะ ไม่ได้คิดอะไร
ตัวอย่างที่(4) ผู้พูดมองออกไปหน้าต่าง และเห็นว่าฝนตก (เหตุการณ์) เหตุการณ์ที่ฝนตกนั้นไปกระตุ้นความสนใจเธอเพราะ เธอไม่คิดว่าฝนจะตก เธอไม่ได้พกร่มมา ทำยังไงดี (คิด) 雨が降っているんだ(どうしよう)(พูดออกมา)

(5) もう、レポートを書きましたか?
(6)(相手の完成したレポートを見て)
  もう、レポートを書いたんですか!?

ตัวอย่างที่ (5) เหมือนกับตัวอย่างที่ 1 คือ ถามทั่วๆไป ไม่ได้คิดอะไร คนพูดอาจจะถามเฉยๆ ถามสถานการณ์ความเป็นจริงทั่วไป เขียนเสร็จก็ดี เขียนไม่เสร็จก็ไม่ใช่ปัญหา
ตัวอย่างที่ (6) เพื่อนเขียนรายงานเสร็จแล้ว(เหตุการณ์) เราเห็นเหตุการณ์นั้นแล้วก็ ห๊ะ เขียนเสร็จแล้วเหรอ เร็วจัง เรายังไม่เริ่มเขียนสักตัว (ความคิด)  もう、レポートを書いたんですか!? (私はまだ書いていないけど

3. ใช้เน้นสิ่งที่ต้องการจะพูด
การใส่ のだ/んだ เป็นการเน้นสิ่งที่ต้องการจะพูด ต้องการจะสร้าง impact พบการใช้ในประโยคสุดท้ายบ่อย

(7) 人間は社会的存在である。つまり、人間は他人と関係を持つことなしに生きることはできないのだ

ตัวอย่างที่ (7) ประโยคแรกบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม แต่ขอมาพูดอีกครั้งในประโยคสุดท้ายเพื่อเน้นและเพื่อความเข้าใจตรงกันคือ พูดง่ายๆก็คือ มนุษย์เนี่ยนะ ไม่สามารถดำรงชีวิตได้หากปราศจากการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
ข้อระวังคือ ใช้บ่อยแล้วอาจมีความหมายว่า

เคยบอกไปแล้ว หรือมันเป็นเรื่องที่คุณก็รู้อยู่แล้ว แต่ฉันก็จะมาเน้นย้ำอีกรอบหนึ่ง (แสดงความไม่พอใจ)

              (8)急いでいるです。だから、早くして下さい。
ตอนนี้รีบอยู่นะ (คุณก็น่าจะรู้ หรือดูออก) คุณก็ควรรีบทำอะไรเร็ว ๆ ด้วย

4.「んですが、/ のですが、ใช้เกริ่นนำ
การใช้ んですが、นั้นฟังดูสุภาพนุ่มนวลกว่าการใช้ 「ですが」 ที่แสดงเจตตามาโต้ง ๆดูโผงผาง
んですが、เหมือนคนพูดค่อย ๆ แง้มประตูความรู้สึกออกมาอย่างสุภาพ

ตัวอย่าง
(9) ちょっとお話があるですが、今よろしいでしょうか。
(10)テレべの音が大きいですが、音を小さくしていただけませんか。


สรุป 

เพื่อความเข้าใจง่าย เราก็จะขอสรุปหัวข้อสำคัญ ๆ อีกครั้ง
เห็นมีวิธีการใช้และมีข้อระวังที่หลากหลายย่างนี้ จริง ๆ แล้ววิธีการใช้ 「んだ」「のだ」 ล้วนมีพื้นฐานมาจาก


หรือพูดง่าย ๆ คือ

ใจที่อยากถาม (のか)
และ
ใจที่อยากพูด (のだ)





แหล่งอ้างอิง

Monday, April 15, 2019

Review : は VS.  が


       สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ  สงกรานต์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้างคะ ทุกคนได้ออกไปเล่นน้ำกันหรือเปล่าคะ หวังว่าเพื่อน ๆ ทุกคนจะมีความสุขและได้พักผ่อนในวันสงกรานต์นะคะ (^.^) (คนเขียนกลับบ้านเก่า นอนอืดเลยค่ะ)
          วันนี้เราจะมาสรุปเรื่องการใช้คำช่วย กับ ค่ะ น่าแปลกที่คำช่วย กับ เป็นคำช่วยแรก ๆ ที่หลายคนได้เรียนตอนเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่หลาย ๆ คน (รวมถึงคนเขียนด้วย แหะ ๆ ) ยังคงกลับประสบปัญหาการใช้อยู่ บางครั้งบอกไม่ได้ว่าประโยคนี้ต้องใช้คำช่วยไหนถึงจะถูก หรือบางครั้ง ในกรณีที่ใช้ได้คู่ แต่ก็บอกไม่ได้ว่ามันให้ความหมายต่างกันอย่างไร ครั้งนี้เราก็เลยมาขอสรุปการใช้ของ กับอีกครั้ง

(การสรุปครั้งนี้ เราสรุปจากการเรียนในคาบ Applied Japanese Linguistic และการหาข้อมูลอ้างจากอินเตอร์เน็ต ดูแหล่งอ้างอิงได้ข้างล่างสุด)

1.    ประโยคหลัก VS ประโยคย่อย
  •     ขอบเขตของ นั้นจะยาวกว่า และยาวไปจนจบประโยค
  •    ส่วนขอบเขตของ จะสั้นกว่า จะจำกัดอยู่แค่ในประโยคหรือนามวลีเล็ก ๆ เพราะเหตุนี้

ตัวอย่าง
1)

   จะเห็นได้ว่าประโยคหลัก (สิ่งที่ต้องการจะพูด) คือ これは時計です  (นี่คือนาฬิกา) ขอบเขตของ ที่อยู่ต้นประโยคไปสุดถึงท้ายประโยค
   ส่วนที่เป็นส่วนขยาย  (สิ่งที่มาเสริมใจความประโยค) คือ 私が東京で買った時計 (นาฬิกาที่ฉันซื้อมาจากโตเกียว) ขอบเขตของ จะครอบคลุมอยู่แค่กลางประโยค

           2)









จะเห็นได้ว่าประโยคหลัก (สิ่งที่ต้องการจะพูด) คือ彼はまだやせていたい。(เขายังผอมอยู่ตอนนั้น) ประโยคนี้จึงใช้
และประโยคย่อย (สิ่งที่มาเสริมใจความประโยค) คือ 私が初めて会ったときに (ตอนที่ฉันเจอเขาครั้งแรก) ประโยคนี้จึงใช้



2.    ประโยคที่ผ่านการคิดไตร่ตรอง VS. ประโยคที่พูดขึ้นทันที
  •      ประโยคที่ผ่านการคิดไตร่ตรอง หรือประโยคอธิบาย(判断文・説明文) มักใช้ 「は」   
  •     ประโยคที่พูดขึ้นทันที  หรือพูดง่าย ๆ  คือประโยคที่เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหัน พูดออกไปโดยยังไม่คิด(現象文)มักใช้ 「が」

  • ตัวอย่าง
  • あっ、豚飛んでいる。 อ๊ะ หมูกำลังลอยอยู่แหนะ (現象文)
  • 電話グラハム・ベルが最初に発明した。โทรศัพท์ริเริ่มประดิษฐ์โดย แกรห์ม เบลล์ (説明文)
  • ตามความเห็นเรา เราคิดว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่พูด ตอนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทันหันคือ ออกเสียงในลำคอ ไม่ต้องขยับอวัยวะมากเท่าเวลาออกเสียง เวลาออกเสียง ต้องห่อปาก ทำให้พูดช้าลง


3.    ฟังไม่รู้ VS. รู้
  • ข้อมูลที่ผู้พูดคาดว่าคนฟังไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน หรือเป็นข้อมูลที่กล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก (新情報) มักใช้ 「が」(เทียบเท่าได้กับ article a
  • ข้อมูลที่ผู้พูดคาดว่าคนฟังรู้เรื่องมาก่อนแล้ว หรือเป็นข้อมูลที่พูดขึ้นเป็นครั้งที่สอง (旧情報) มักใช้ 「は」(เทียบเท่าได้กับ article the)



  • ตัวอย่าง
  •  1) A: すみません。ここに財布あったと思うんですが (กล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก)
B:どんな財布ですか。
A:その財布黒くて、長いですกล่าวขึ้นเป็นครั้งที่สอง ผู้ฟังรู้แล้ว

2.富士山きれいです。
(ภูเขาไฟฟูจิอยู่ข้างหน้า และยังไม่มีใครรู้ว่าภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาไฟที่สวย)
  富士山きれいです。
(ภูเขาไฟฟูจิไม่ได้อยู่ตรงหน้า และใคร ๆ ก็รู้ว่าภูเขาไฟฟูจิสวย)


4.    น้นข้างหน้า VS. เน้นข้างหลัง
  •        เน้นส่วนข้างหน้า ใช้ 「が」
  •        เน้นส่วนข้างหลัง ใช้ 「は」



·      ตัวอย่าง
開発企画部の木村と斉藤明日の会議の出席者です。……①
   木村今回のプロジェクトの主担当です……②
   斉藤今年入社したばかりの新人です……②
   木村当日の進行役を務めます。……③

   เน้นประธานข้างหน้าสองคนว่า สองคนนี้เองจะเข้าประชุมในวันพรุ่งนี้ ไม่มีคนอื่นแล้ว
   เน้นส่วนหลัง กำลังแนะนำให้รู้จักว่า คุณคิมุระคือเป็นคนดูแลหลักเรื่องโปรเจ็กครั้งนี้ ส่วนคุณไซโต้คือเด็กใหม่ (ซึ่งคุณไซโต้อาจจะเป็นเด็กใหม่คนเดียว หรืออาจจะมีเด็กใหม่คนอื่นอีก)
   เน้นประธานข้างหน้า บอกว่าคุณคุมิระนี่เองที่จะทำหน้าที่ 進行 ไม่ใช่คุณไซโต้

·      จากที่ดูตัวอย่างข้างต้น ในความคิดของเรา ใช้อธิบายว่าประธานคนนี้ทำ/เป็น 1 2 3 4 ไม่ได้เจาะลึกอะไรทั้งนั้น และไม่แคร์ว่าจะมีคนอื่นที่ทำ/เป็นเหมือนกันหรือไม่ แต่ มีความเจาะจงว่าประธานคนนี้นี่แหละที่ไม่มีคนอื่นแล้ว


5.    หัวเรื่อง
  • การทำให้ประธานเป็นหัวเรื่อง(topic) ใช้ 「は」

  •  ตัวอย่าง

        A: กุญแจอยู่ไหนนะ
        B:  กุญแจเหรอ อยู่นี่ไง
        จากที่เรียนกันมา กุญแจอยู่นี่ ต้องพูดว่า カギがここにあります แต่ในกรณีที่ต้องการจะบอกว่ากำลังพูดเรื่องกุญแจอยู่นะ topic คือกุญแจ จะนิยมเปลี่ยน กลายเป็น カギここにあります。


 6.    เปรียบเทียบ
  • กรณีเปรียบเทียบของสองสิ่งขึ้นไป ใช้ 「は」

  •  ตัวอย่าง
  • お酒辞められますが、たばこ辞められません。เลิกเหล้าได้ แต่เลิกบุหรี่ไม่ได้
  •       ひらがな書けますが、漢字書けません。เขียนตัวอักษรฮิรากานะได้ แต่เขียนคันจิไม่เป็น

7.    จำนวนอย่างน้อยที่สุด
  • บอกจำนวนอย่างน้อยที่สุด ใช้ 「は」

  • ตัวอย่าง

1) A: 漢字は日本で生活する上で2千字覚えてほしい 
ในการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น ควรจำคันจิได้อย่างต่ำ 2,000 ตัว
 B: 2千字も!?
                ตั้ง 2,000 ตัวเลยเหรอ!

            2) 彼の結婚式に1000来たそうだ。ได้ยินว่ามีแขกมางานแต่งงานของเขาอย่างต่ำ 1,000 คน

สรุป

   หลังจากที่เขียนอธิบายมาหลายข้อ ทุกคนคงรู้สึกว่ารายละเอียดเยอะจัง สับสน ยังจำไม่ได้ ทีนี้เราก็เลยลองรวบรวมสรุปออกมาเป็นตารางเดียวค่ะ หวังว่าน่าจะช่วยให้เห็นภาพรวมขึ้นนะคะ

   เป็นอย่างไรบ้างคะ พอจะเห็นภาพรวมขึ้นมาบ้างไหมคะ พอเราลองหาข้อมูลและสรุปออกมาแล้วก็รู้สึกว่า เออ ไม่แปลกเลยที่คนหลายคนจะสับสนการใช้ は が เพราะมันมีลายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก มีความหมายแฝงที่ล่องหนในประโยคอยู่ มองด้วยตาปล่อยไม่เห็น ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม ต้องให้คนญี่ปุ่นอธิบายเพิ่มเติมว่ามันมีความหมายอะไรแฝงอยู่ และถึงแม้ว่าเราจะเข้าไปอ่านและสรุปออกมา ก็รู้สึกว่ายังจำได้ไม่หมด อาจจะยังคงใช้ผิดอยู่ แต่สิ่งที่ได้จากการสรุปครั้งนี้คือ มันทำให้เราเห็นภาพรวมการใช้ กับมีความระมัดระวังการใช้มากขึ้น  :)           






แหล่งอ้างอิง
1.เอกสารในวิชา Applied Japanese Linguistic

Conclusion : วัดผล

สวัสดีค่ะ ครั้งนี้ก็เป็นการอัพบล็อกครั้งสุดท้าย ขอบคุณที่ติดตามมาตลอดนะคะ (โค้งงาม ๆ ) ครั้งนี้ก็จะมาสรุปผลว่า ทำบล็อกนี้แล้วได้ตรงตาม...